วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การปลูกชมพู่ทับทิมจันทร์

ขอบคุณรูปภาพจาก : http://www.bansuanporpeang.com/node/25768

การปลูกชมพู่ทับทิมจันทร์

          ชมพู่ทับทิมจันทร์ เป็นผลไม้ที่โดดเด่น ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเหนือชมพู่พันธุ์อื่นใด สร้างความสำเร็จให้กับผู้ปลูกมามากต่อมาก ขณะเดียวกันผู้ปลูกจำนวนมากประประสบความสำเร็จในช่วง 2-3 ปี แรก หลังจากนั้นขาดทุน ต้องทิ้งสวนหรือโค่นทิ้ง ปลูกพืชอย่างอื่นกันมากมายเช่นกัน ทำไมเกษตรกรบางคนปลูกชมพู่ทับทิมจันทร์ แล้วสำเร็จอย่างยั่งยืน บางคนสำเร็จแบบชั่วคราว คิดเหมือนกันแต่ได้ผลแตกต่างกัน เดี๋ยวผมจะไขปริศนาให้ทราบ
          ชมพู่ทับทิมจันทร์ ปลูกได้ทุกสภาพดิน ถ้าหากเกษตรกรมีหลักคิดว่าดินปรับปรุงได้ ดินจะดีไม่ดีอยู่ที่เราปรับปรุงบำรุง ดินที่ดีอยู่เดิมหากเราไม่รู้จักปรับปรุงบำรุงดิน ไม่ช้าดินก็เสื่อม และปลูกพืชอะไรก็ไม่ได้ผล ดินที่ไม่มีคุณภาพ หากเรารู้จักปรับปรุงบำรุงดิน โดยเติมปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์แห้ง ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ไม่นานดินก็จะสมบูรณ์ ปลูกพืชชนิดใดก็ได้ผล การเลือกพื้นที่ปลูกชมพู่ทับทิมจันทร์ จะต้องดูแหล่งน้ำเป็นหลัก เพราะพืชชนิดนี้ต้องการน้ำมาก แต่ก็ไม่ชอบน้ำท่วมขัง กานปลูกชมพู่ทับทิมจันทร์ในพื้นที่ลุ่ม เกษตรกรจะต้องยกร่อง ขนาดความกว้างของร่อง 6-8 เมตร ความสูงขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ การปลูกนำกิ่งพันธุ์มาปลูก โดยปลูกแถวเดียวในแต่ละร่อง คือปลูกตรงกลางร่อง ระยะห่างห่างระหว่างต้นประมาณ 6-7 เมตร ไร่ ปลูกได้ประมาณ 33 ต้น การปลูกชมพู่ทับทิมจันทร์ จะต้องหลีกเลี่ยงสารเคมีโดยเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นยาฆ่าหญ้ายาฆ่าแมลง หรือ ปุ๋ยเคมีชนิดต่างๆ ซึ่งจากการสอบถามของผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ กับ คุณ ธนิกา เสมอภพ เจ้าของสวนสวนชมพู่ทับทิมจันทร์ที่ ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ทำให้ทราบว่าชมพู่ทับทิมจันทร์เป็นคู่อริกับสารเคมีทุกชนิด
       ไม่เว้นแม้แต่ปุ๋ยเคมี คุณ ธนิกา เสมอภพ ปลูกชมพู่ทับทิมจันทร์บนร่องสวน ใช้ความห่างประมาณ 7-8 เมตรต่อต้น ในช่วง 3 ปีแรกได้ผลผลิตดีมาก หลังจากนั้นผลผลิตเริ่มลดลง รสชาติความหวานก็เปลี่ยนไป เนื่องจากใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว ดินเริ่มเสื่อม คงจะเป็นไปตามคำกล่าวที่ว่า ชมพู่นี้เป็นชมพู่ทับทิมจน หลังจากที่คุณ ธนิกา เสมอภพ ได้ฟังรายการ บ้านเราเมืองเรา ที่ผู้เขียนดำเนินรายการอยู่ ได้พูดถึงปุ๋ยหมักปลา คุณธนิกา ก็ทำปุ๋ยหมักปลาเอามารดน้ำต้นชมพู่เดือนละครั้ง ชมพู่ก็กลับพื้น ใต้ผิวดินมีไส้เดือนมากขั้น ชมพู่มีรสหวานดังเดิม
          ชมพู่ทับทิมจันทร์จะเริ่มออกดอกในช่วงเดือนสิงหาคม จะทยอยอกดอกทั้งปี ไปสิ้นสุดในเดือนเมษายน จะพักต้น 3 เดือน เมื่อชมพู่เริ่มติดดอก เกษตรกรจะต้องแต่งช่อผลโดยปลิดลูกออกให้เหลือช่อละ 4 ผล ปริมาณนี้เมื่อเติบโตเต็มที่จะเป็นที่ต้องการของตลาด คือ ขนาด 6-7 ผล ต่อ กิโลกรัม เมื่อแต่งช่อผลแล้วก็ทำการห่อช่อผลด้วยถุงพลาสติก ป้องกันแมลงเข้าไปกัดกิน
          การป้องกันแมลงให้ใช้สารสมุนไพรชีวภาพ ประกอบด้วย หัวข่าแก่ ตะไคร้หอม สะเดา หมัดไว้ประมาณ 3 คืน แล้วนำไปฉีดพ่นไล่แมลง ชมพู่ทับทิมจันทร์ของ คุณธนิกา ให้ผลผลิตคิดเป็นเงินต้นละไม่ต้องกว่า 25,000 บาท ต่อปี ผู้ที่สนใจจะปลูกชมพู่ทับทิมจันทร์ จะต้องศึกษาทำความเข้าใจ เรื่องดิน การใช้ปุ๋ย การให้น้ำเป็นอย่างดี เมื่อเสร็จสิ้นฤดูกาลในปีหนึ่งๆ จะต้องตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง กิ่งที่ไม่ต้องการก็ต้องตัดออก บริเวณโคนต้นต้องเก็บกวาดเอาใบออกให้หมด ป้องกันแมลงลงไปไข่ เป็นการตักวงจรการเพาะพันธุ์ของแมลง
          พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 33 ต้น รายได้ต้น 25,000 บาท รวมแล้วรายได้ต่อไร่ต่อปีตกประมาณ 82,500 บาท เป็นรายได้ที่ดีมาก ต้นทุนน้อยมากๆ เนื่องจากปุ๋ยปลาก็ทำเอง ต้นทุนค่าปุ๋ยไม่เกิน 2,000 บาทต่อไร่ต่อปี เกษตรกร ที่ต้องการจะปลูก ชมพู่ทับทิมจันทร์ นอกจากจะต้องการทำความเข้าใจในเรื่องการปลูก การบำรุงรักษาแล้ว จะต้องเข้าใจเรื่องการตลาดด้วย ปลูกแล้วจะส่งขายตลาดที่ไหน ขาบส่งหรือขายปลีก การผลิตกับการตลาดจะต้องคู่กัน ผู้ผลิตจะต้องเป็นนักการตลาดด้วย ขอขอบคุณ คุณ ธนิกา เสมอภพ เจ้าของสวนชมพู่ทับทิมจันทร์ ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เบอร์โทรศัพท์ 086-6832551

ข้อมูลจาก : http://anusorn911.blogspot.com/2011/01/blog-post_25.html

1 ความคิดเห็น: